ยุทธศาสตร์ ปี 2566-2570

ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา 16 ระบุให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา นโยบายของกระทรวงและแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง เขตสุขภาพที่ 10 ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติงานของหน่วยงานและคณะกรรมการขับเคลื่อนงานตามภารกิจ ในเขตสุขภาพที่ 10  ให้บรรลุเป้าหมาย “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน”
กรอบแนวคิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เขตสุขภาพที่ 10 2566 – 2570
1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
3.แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
4.ประเด็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่ Area Base

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ เขตสุขภาพที่ 10 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 ได้วางกรอบแนวคิดให้มีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี  นโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข การปฏิรูปด้านสาธารณสุข มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ ๑.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ ๒.ระบบบริการเป็นเลิศ  ๓.บุคลากรเป็นเลิศ และ ๔.ระบบบริหารเป็นเลิศ ด้วยธรรมาภิบาล เพื่อถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขให้แก่ ทุกหน่วยงาน ในเขตสุขภาพที่ 10 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการประสานการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งใช้เป็นกรอบในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่อไป ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่บรรลุเป้าหมายตามโครงการ และเป้าหมาย ของเขตสุขภาพที่ 10 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจ
 1. ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภค
 2. พัฒนาระบบบริการ
 3. พัฒนาระบบกำลังคนด้านสุขภาพ
 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาล
 5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพัฒนาภาคีเครือข่าย
เป้าประสงค์หลัก
1.ประชาชนสุขภาพดี (= อัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดโรค ลดลง ตัวชี้วัดด้านสุขภาพที่สำคัญบรรลุเป้าหมาย)
 2.เจ้าหน้าที่มีความสุข (= บุคลากรได้รับการ สรรหา การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีสมรรถนะและมีความสุขในการทำงาน)
 3.ระบบสุขภาพยั่งยืน (= มีระบบสุขภาพเป็นหนึ่งเดียว องค์รวม ไร้รอยต่อ สร้างความเป็นธรรม และความมั่นคงทางสุขภาพ)
ค่านิยมองค์กร
 M : Mastery = เป็นนายตนเอง       
 O : Originality = เร่งสร้างสิ่งใหม่
 P : People centered approach = ใส่ใจประชาชน
 H : Humility = ถ่อมตน  อ่อนน้อม
Plus P++: Performance Excellence = มุ่งงานเลิศ
วัฒนธรรมองค์กร
องค์กรแห่งการเรียนรู้ บริการด้วยหัวใจ  ยึดธรรมาภิบาลและคุณธรรม
การกำหนดตัวชี้วัด
(Key Performance Identification) ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์ (Objective)  จากสภาพปัญหา นโยบาย และปัญหาในพื้นที่เป็นหลัก เช่น
1. Agenda Base 
2. Function Base
3. Area Base สำหรับการรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดให้ทุกจังหวัดเป็นผู้กำกับติดตามและพื้นที่บันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบ Cockpits เขตสุขภาพที่ 10

งานตามนโยบายรัฐมนตรี 13 ประเด็นและการขับเคลื่อน QUick-Win กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ปี 2567

แผนงานขับเคลื่อน และประเด็นเน้นหนัก เขตสุขภาพที่ 10 ปี 2567

  แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงสาธารณสุข

Ebook แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงสาธารณสุข 

Template 54 ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข

[wpdatatable id=9]

[wpdatatable id=10]

[wpdatatable id=11]

กระบวนการพัฒนางานโดยใช้เครื่องมือ SI3M

การพัฒนาโครงสร้างกลไกการทำงาน (Structure : S) โครงสร้าง บุลคลากร สถานที่ตัวอย่างคำอธิบาย/ผลลัพธ์
1.1 คำสั่งคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องด้านการดำเนินงานตามนโยบาย– คำสั่งคณะกรรมการ จังหวัด / PM
1.2 กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานการพัฒนาระบบบริหารจัดการ– สรุปการประชุม  ข้อสั่งการ เอกสาร อันมีเนื้อที่เป็นแนวทางเพื่อขับเคลื่อน มาตรการด้าน นโยบาย ที่รับทราบในภาพรวม 
1.3 นโยบาย แผนงานโครงการ และการจัดสรรทรัพยากร  (คน เงิน ของ) เพื่อแก้ปัญหากระบวนการพัฒนางานตามนโยบายตัวชี้วัดตามประเด็นข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการมีแผนงานโครงการที่มีความเชื่อมโยง ทรัพยากร  (คน เงิน ของ) เพื่อแก้ปัญหากระบวนการพัฒนางานตามนโยบายตัวชี้วัดตามประเด็นข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
โดย มีแนวทาง ตามรูปแบบ กระทรวง เขตสุขภาพ
– Agenda Base
– Function Base
– Area Base
1.4 ผู้จัดการระบบ (System Manager: SM) / ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager : CM)             และบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง  (Performance Agreement : PA)  – การขับเคลื่อนโดยผ่าน  (Project Manger /System Manager: SM) /  ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager : CM)   เช่นการจัดประชุมคณะกรรมการ   
การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร (Information : I)
2.1 ศูนย์ข้อมูลกลางที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร -มีระบบ สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลกลางที่สนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหาร ที่มีการปรับปรุงข้อมูล ที่ทันสมัย
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์และการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์การนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่กระทรวง / เขตสุขภาพ หรือแหล่งอันเป็น ข้อมูลที่ปัจจุบัน และน่าเชื่อถือ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์             
การพัฒนากระบวนการดำเนินงาน (Intervention :I)
3.1 แนวทางการดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ถ่ายทอด และผลักดันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ในระดับพื้นที่มีแผนงานโครงการ แผนปฏิบัติราชการ
การถ่ายทอดการนโยบาย ระดับจังหวัด พื้นที่มีความเชื่อมโยง
หรือจัดทำข้อตกลง Memorandum of Understanding รวมกัน ขับเคลื่อนโดยผ่าน  (Project Manger /System Manager: SM) /  ผู้จัดการรายกรณี (Case Manager : CM)   
3.1 แนวทางการดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ถ่ายทอด และผลักดันอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ในระดับพื้นที่
3.2 แนวทางการดำเนินงานและแนวทางครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟู และ คุ้มครองผู้บริโภคที่นำไปใช้เป็นแนวทางเดียวกันระดับจังหวัด /อำเภอ อย่างน้อย 1 ประเด็น
การนำเนินตามกิจกรรมตามงานนโยบาย  ข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA) เขตสุขภาพที่ 10 ที่มีรูปแบบสอดคล้องแนวทางทิศทางเดียวกัน หรือรูปแบบการบริหารจัดการ โครงการฯ
– Agenda Base
– Function Base
– Area Base 
3.3 กระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟู และคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพัฒนานวัตกรรม ต่อยอดและขยายผลอย่างเป็นระบบ อย่างน้อย 1 ประเด็น– กลไกประสานงานกับหน่วยงาน/ ประชุมกลุ่มย่อย
กระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้ที่นำไปสู่ งาน   Routine to Research
-บริการข้อมูลกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย ภายใน ภายนอก / ช่องทางสื่อสาร ไลน์ Webex,        zoom เป็นต้น
– แผนงานโครงการที่มีความเชื่อมโยง  / ระบบกระบวนการ
การจัดทำข้อตกลง Memorandum of Understanding (ใน/นอกหน่วยงาน) กลไกที่จะมีแนวทางขับเคลื่อนร่วมกันในรูปแบบ แผนงานโครงการ กิจกรรม เป็นต้น
การบูรณาการ (Integration : I)
แผนงานโครงการ พัฒนาแบบบูรณาการ  
-การบูรณาการทรัพยากร (คน เงิน เทคโนโลยี) ภายในเขต (ใน/นอกหน่วยงาน) 
– รูปแบบกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยง
– แผนงานโครงการที่มีความเชื่อมโยง  / ระบบกระบวนการ
การจัดทำข้อตกลง Memorandum of Understanding (ใน/นอกหน่วยงาน) กลไกที่จะมีแนวทางขับเคลื่อนร่วมกันในรูปแบบ แผนงานโครงการ กิจกรรม เป็นต้น
รูปแบบ กระบวนการ หรือเครื่องมืออัน วิธีการ การติดตามประเมินผลซึ่งได้มา ไม่ว่าจะเป็นเชิงกระบวนการ เชิงคุณภาพ / จะเป็นภาพรวม หรือรายประเด็นที่ มีความน่าสนใจ หรือใช้เป็นรูปแบบ
/ แบบอย่างอื่น ของ งานตามนโยบายตัวชี้วัดตามประเด็นข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
–        เครื่องมือเสริมพลังอำนาจให้กับคน. (empowering tools)
–        การติดตามกิจกรรม
–        การติดตามผลการดำเนินงาน
หรืออื่นๆ เป็นต้น
การติดตาม ประเมินผล (Monitoring and Evaluation : M)
ระบบและกลไกการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลงาน อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ผลงานตามเป้าหมายหลักเป็นรายไตรมาส หรือภาพรวม
ตัวชี้วัด / Small Success  ตามนโยบายตัวชี้วัดตามประเด็นข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการ (Performance Agreement : PA)
-ผลงาน ผลสัมฤทธิ์ ภาพรวม รายประเด็น
-สรุปผลการดำเนินเปรียบเทียบ
-วิเคราะห์ตัวชี้วัดที่ยังผ่านเกณฑ์
-ปัญหาอุปสรรค

CIPP Model           

แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินรูปแบบซิป (CIPP Model) แบ่งการปะเมินออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. การประเมินสาระสำคัญแวดล้อม (Context evaluation)
  2. การประเมินผลปัจจัยนำเข้า (Input evaluation)
  3. การประเมินผลกระบวนการ (Process evaluation)
  4. การประเมินผลผลิต (Product evaluation)

“Six Building Blocks of A Health System” หรือ “6 เสาหลักของระบบสุขภาพ”

  1. Service Delivery – การให้บริการ ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่สุขภาวะของประชาชน โดยหลักการสำคัญของการให้บริการ คือ ต้องมุ่งเน้นที่ “คน” เป็นศูนย์กลาง ออกแบบและพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ และเท่าเทียมกัน
  2. Health Workforce – กำลังคนด้านสุขภาพ บุคลากรทั้งหมดที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ ทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุน ที่ทำงานในภาครัฐและภาคเอกชน ทำงานเต็มเวลาหรือกึ่งเวลา ทำงานเดียวหรือควบหลายงาน รวมถึงการได้รับหรือไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานก็ตาม
  3. Information System – ระบบสารสนเทศการมีระบบสุขภาพ ที่ถูกต้องและมีคุณภาพ เพื่อลดความผิดพลาดในระบบสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น และถูกนำไปใช้เป็นฐานในการตัดสินในองค์ประกอบอื่น ๆ ของระบบสุขภาพได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิผลอีกด้วย
  4. Medical Products, Vaccines & Technologies – ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ วัคซีน เทคโนโลยีด้านสุขภาพ ต้องมีกลไกในระบบสุขภาพที่เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ยา วัคซีน และเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพที่จำเป็น มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และคุ้มค่ากับราคา
  5. Financing – การบริหารจัดการงบประมาณ/การเงินการคลัง การคลังด้านสุขภาพเป็นรากฐานสำคัญ ด้วยกลไกการจ่าย เก็บสะสม หรือแบ่งปันที่ยังขาดไปในระบบ หรือแบ่งปันให้เกิดแรงจูงใจของบุคลากร มีความพร้อมให้บริการ ประชาชนเข้าถึงได้ทุกเวลาและสถานที่ สามารถบรรลุเป้าหมายให้มีสุขภาพดีได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และที่สำคัญคือ ปราศจากภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่มากจนต้องล้มละลาย
  6. Leadership/Governance – ภาวะผู้นำ/การอภิบาลระบบ สร้างระบบสุขภาพที่คาดหวังไว้ให้สำเร็จ ต้องกำกับ ดูแล และควบคุม รับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและเป็นธรรม เนื่องจากมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมายหลายกลุ่ม บูรณาการทุกภาคส่วนให้เกิดการเชื่อมผสานกันในระบบสุขภาพที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น มีสมดุลและยั่งยืน