[1พ.ย.65] รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังอุทกภัย ณ 1 พฤศจิกายน 2565 (16.00 น.)

รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังอุทกภัย ณ 1 พฤศจิกายน 2565 (16.00 น.) จากข้อมูลพบว่า;

  1. เขื่อนและฝายต้นน้ำมูล, ชี 8 แห่ง พบว่า;
    ■3 แห่งเก็บกักน้ำมากที่ระดับสีแดง>100% คือ เขื่อนอุบลรัตน์, ลำตะคอง, ลำนางรอง
    ■5 แห่งเก็บกักน้ำมากที่ระดับสีแดง>90% คือ เขื่อนสิริธร, จุฬาภรณ์, ลำพระเพลิง, ลำปาว, ลำแซะ
  2. ข้อมูลเฝ้าระวังระดับน้ำ 3 จังหวัด 25 สถานี;
    ■ ส่วนมากน้ำสูงระดับสีแดง ” วิกฤต” เกินค่าความจุลำน้ำ และล้นตลิ่ง 12 สถานี;
    – จ.อุบลราชธานี (5/12) , สถานี M.7 ระดับน้ำเย็นนี้ลดลงจาก ระดับสูงสุด 116.51 – 114.44 = 2.07 ม.(รทก.)
    – จ.ศรีสะเกษ (5/8)
    – จ.ยโสธร (2/5)
  3. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2°C
  4. พื้นที่และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ;
    ★ จำนวน 49 อำเภอ, 370 ตำบล, 3,023 หมู่บ้าน ประชาชน 222,898 คน, 96 ศูนย์พักพิง
  5. รายงาน Event Based Surveillance โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม;
    ★ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ 3,589 , โรคระบบทางเดินอาหาร 159, เลปโตสไปโรซิส 5, น้ำกัดเท้า 9,415 , ผื่นคัน 351, ตาแดง 43, อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย 486
    6.เสียชีวิต 22 (อบ.4, ศก.18)

■ สรุป;

  • แนวโน้มระดับน้ำสถานีสำคัญที่มีพื้นที่กระทบจำนวนมาก (M7.) ค่อยๆ ลดลงต่อเนื่อง1.แนวโน้มระดับน้ำสถานีสำคัญที่มีพื้นที่กระทบจำนวนมาก (M7.) ค่อยๆ ลดลงต่อเนื่อง
  • ในพื้นที่น้ำท่วมขัง จุดพังพิงยังมีความเสี่ยงและ ผลกระทบต่อสุขภาพ, การดำรงชีวิต ปชช. ควรได้รับการสำรวจประเมินความเสี่ยง เพื่อแก้ไขปรับปรุงความเสี่ยงในทุกภารกิจตามโครงสร้าง EOC.
  • ปชช.อพยพในจุดพักพิงรวม 96 จุดใน 3 จังหวัด (อบ.84, ศก.11, ยส.1) ยังคงต้องได้รับการสื่อสารความเสี่ยง การเฝ้าระวัง ดูแลควบคุมโรคในทุกมิติ เช่น CD.,NCD., MCATT, accident,health prom.

งาน SAT. Flooding response, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี