[16 ก.ย. 65] เขตสุขภาพที่ 10 ขอแสดงความยินดี กับคณะกรรมการ CIO ที่ได้รับรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น ประจำปี 2565 กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 10.30 น.
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10, นายแพทย์ดนัย ธีวันดา สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10, นางสาวจงกลนี จริยานุวัฒน์ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 10, นายแพทย์สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10, นพ.ปิยวัฒน์ อังควะนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวารินชำราบ และผู้บริหารเขตสุขภาพที่ 10 ร่วมให้กำลังใจผู้เข้ารับการประกวดผลงานวิชาการ มหกรรมการจัดการความรู้จากบทเรียนโควิด 19 และโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย. 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เขตสุขภาพที่ 10 ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ เขตสุขภาพที่ 10 เป็นตัวแทนรับโล่ห์รางวัล จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
1. รางวัลดีเด่น สาขาระบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ได้แก่ การพัฒนาระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วย (Smart Refer) เขตสุขภาพที่ 10
ผู้แทนนำเสนอ : นายธนสิทธิ์ สนั่นเมือง นักสถิติชำนาญการ สสจ.อุบลราชธานี
ระบบ Smart Refer เป็นระบบการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย โดยส่งข้อมูลจากระบบ HIS จากหน่วยบริการต้นทาง ไปยังรพ.ปลายทาง ออนไลน์โดยอัตโนมัติ ทดแทนใบรีเฟอร์ 3 สี ข้อมูลมีความถูกต้อง ลดภาระการกรอกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วยโมดูล Refer Out, Refer In, Refer Back และ Refer receive ที่ตอบสนองทั้งการส่งต่อ และส่งกลับผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ- ตติยภูมิ ครอบคลุมการส่งต่อทุกกลุ่มโรค รวมทั้งนโยบาย Cancer Anywhere ปัจจุบันเขตสุขภาพที่ 10 ใช้ระบบ Smart Refer ในโรงพยาบาลทุกแห่ง (71 แห่ง), รพ.นอกสังกัดสป.ในจังหวัดอุบลราชธานี , รพ.พระศรีมหาโพธิ์, รพ.มะเร็งอุบลราชธานี และขยายการใช้งานไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งของเขตสุขภาพที่ 8 รวมทั้งดำเนินการพัฒนาระบบรองรับการขยายการใช้งานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชื่อมต่อกับ HOSxP-PCU และ JHCIS
2.รางวัลดีเด่น สาขาบริหารสาธารณสุข นโยบายสาธารณสุข สาธารณสุขทั่วไป เศรษฐกิจ ได่แก่ การพัฒนาระบบสารสนเทศ “Thai Elder Risk Application” สำหรับผู้สูงอายุ 3 กลุ่มโรค (Stroke, STEMI และ Hip Fracture) เขตสุขภาพที่ 10
ผู้แทนนำเสนอ: นายณัฐนนท์ ลำสมุทร นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สนง.เขตสุขภาพที่ 10
ระบบ Thai Elder Risk Application จากนโยบายเขตสุขภาพที่ 10 (นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข) เพื่อการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง การแจ้งเหตุฉุกเฉิน สำหรับผู้สูงอายุ 3 กลุ่มโรค (Stroke, STEMI ,Hip Fracture) ในรูปแบบ Mobile application ในการคัดกรองความเสี่ยง การติดตามผู้ป่วย และการแจ้งเหตุฉุกเฉิน พร้อมระบบริหารจัดการและรายงานด้วย Web Application ใช้งานระบบทั้งเขตสุขภาพที่ 10 (5 จังหวัด 71 อำเภอ)
ควบคุม กำกับ และขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดย นายแพทย์ปิยวัฒน์ อังควะนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวารินชำราบ/ ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIO) เขตสุขภาพที่ 10