ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน)
ได้มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการทุกระดับตั้งแต่ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง
พร้อมทั้งสร้างระบบที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยเน้นการ “เพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน”
สอดคล้องกับการปฏิรูปเขตสุขภาพและแนวคิด One Region One Province One Hospital จึงได้มีเป้าหมายการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ระบบส่งต่อ ตามนโยบาย One Province One ER/OR โดยติดตั้งระบบติดตามสัญญาณชีพและส่งสัญญาณภาพผู้ป่วยผ่านเครือข่ายไร้สายที่สามารถทำงาน เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IOT (Internet of things)
เพื่อให้สามารถรองรับการให้คำปรึกษาแก่แพทย์และพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้การรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนไปยังโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ ได้รับการรักษาที่รวดเร็วมีความปลอดภัยและไร้รอยต่อ โดยกำหนดให้จังหวัดอำนาจเจริญเป็นเป้าหมายจังหวัดนำร่องต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 10 ในปีงบประมาณพ.ศ 2566
ปัจจุบัน จังหวัดอํานาจเจริญ มีการนําเทคโนโลยีการแพทย์ฉุกเฉินระยะไกล โดยใช้ระบบ Telemedicine เข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เชื่อมต่อการดูแลผ่านระบบไร้สายทั้งภาพและเสียง
พร้อมสัญญาณ vital sign และ EKG แบบ real time มุ้งเน้นการพัฒนายกระดับการแพทย์ฉุกเฉินให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวดเร็ว แม่นยํา และมีประสิทธิภาพ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ก่อนเริ่มใช้ วันที่ 1 มีนาคม 2567 พร้อมกันทั้งจังหวัด ภายใต้ชื่อ “EMS/Refer Telemedicine Amnatcharoen” มีบทบาทดังนี้
– Tele – Monitoring : เพื่อติดตามอาการผู้ป่วย ในขณะให้การดูแลรักษาที่ห้องฉุกเฉิน รพช. และระหว่างการส่งต่อ refer บนรถ Tele-Ambulance แบบ Real – time
– Tele – Consultant : เพื่อให้คําแนะนําการรักษาผู้ป่วยโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินได้ทันเวลา ผ่านการกดปุ่ม Tele-Alert บนรถพยาบาล และที่ห้องฉุกเฉิน แบบ 2 way communication
– Tele – ER to ER : เพื่อการร่วมดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉินร่วมกัน เสมือนมี EP อยู่ด้วย แบบ real time สามารถพูดคุยสื่อสาร ปรึกษา และดูแลคนไข้วิกฤตไปพร้อมๆกัน
– Tele – EMS : เพื่อร่วมประเมินอาการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตขณะออกเหตุ EMS สามารถปรึกษาแพทย์อํานวยการดูแลร่วมที่ศูนย์แม่ข่ายเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม และเตรียมแผนตั้งรับเมื่อมาถึง ER รพ.
– Tele -Refer : เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตลอดการส่งต่อ refer เสมือนมีแพทย์ EP อยู่บนรถ Refer ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Refer ภายในจังหวัด หรือส่งออก รพ.ศูนย์ข้างเคียง
– Tele -Mobile Application : เป็นระบบดูแลผู้ป่วยโดยเชื่อมโยงกับโทรศัพท์มือถือ ทั้ง Android และ IOS สามารถ Log in เข้าสู่ ระบบผ่าน username และ password เฉพาะ และดูข้อมูลได้ทั้ง Vital Sign, EKG แบบ real-time รวมทั้งสื่อสารพูดคุยและดูภาพผู้ป่วยได้แบบ realtime ทั้งนี้มี Specialist อื่นเข้าดูได้ โดยเฉพาะ Cardiologist และ Neurologist
วันที่ 10 เมษายน 2567
แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ รักษาการในตำแหน่งสาธารณสุขนิเทศก์ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 10
เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินระยะไกล Telemedicine One Province One ER/LR Mobile ICU จังหวัดอำนาจเจริญ ตามโครงการพัฒนาระบบติดตามสัญญานชีพและส่งสัญญาณภาพผู้ป่วยผ่านเครือข่ายไร้สายต้นแบบเขตสุขภาพที่ 10 เพื่อสร้างการพัฒนาระบบรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว มีความปลอดภัยและไร้รอยต่อ
โดย นายแพทย์ปฐมพงษ์ ปรุโปร่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นผู้กล่าวรายงาน
และ นายแพทย์กิตติศักดิ์ ฐานวิเศษ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำนาจเจริญ และบุคลากรทางการแพทย์จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด / โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ร่วมพิธีเปิด ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลอำนาจเจริญ